สำหรับเจ้าของกิจการมือใหม่ที่คิดจะสร้างโฆษณาบน Facebook ก็อาจจะสับสนกับวิธีสร้างตัวโฆษณากันบ้างแน่ๆ พอดีวันนี้คุณ Poramin เจ้าของสติ๊กเกอร์ Luna-Chan Diary ในกลุ่ม LINE Creator Community ถามขึ้นมาว่า
ถ้าอยากสร้าง Ads แบบให้ไปดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์ไลน์ของตัวเองง่ายๆ ทำไง?
ไม่ยากเลยครับ ลองดูวิธีทำง่ายๆ ตามโค้ชพลกันเลย
คนที่อยากสร้าง Facebook Ads ของตัวเองแบบอื่นก็ใช้อ้างอิงได้นะ
มีทั้งหมด 8 ขั้นตอนครับ
1. บอก Facebook ว่าเราอยากสร้าง Ads
Facebook มีส่วนที่ให้เราแจ้งความประสงค์สร้างโฆษณาอยู่แล้วครับ อยู่ด้านบนขวาของเว็บ Facebook นี่เอง กดเพื่อแสดงเมนูลงมาจะเจอคำสั่ง “Create Ads”
2. เลือกความต้องการที่จะให้ Facebook ช่วยโฆษณาให้
พอเข้ามาแล้ว Facebook จะทำตัวเหมือนนางฟ้าแม่ทูนหัวในเรื่องซินเดอเรลล่าครับ นั่นคือถามว่า
อยากให้ Ads ของ Facebook ทำอะไรให้? (กวัดแกว่งไม้วิเศษไปมา)
อย่างเช่นในทีนี้คุณ Poramin ต้องการให้คลิกเพื่อไปยังหน้า Sticker LINE ของตัวเอง ก็มีวิธีดังนี้ครับ
- เลือก “Send people to your website“
- ใส่ link ของหน้า sticker ลงไป (หรือ link เว็บที่อยากให้คนที่สนใจคลิกนั่นแหละ)
- กด Continue ไปต่อ
3. เลือกกลุ่มเป้าหมาย (Target)
มาถึงจุดนี้เขาก็จะถามต่อครับ ว่าเราอยากให้โฆษณานี้ ไปโผล่ในหน้า Wall ของใครบ้าง โดยระบุเบื้องต้นได้ดังนี้
- Location: ประเทศ, จังหวัด, เมือง หรือที่อยู่
- Age: ช่วงอายุ
- Gender: เพศ
- Language: ภาษา
- Interests: ความสนใจ เช่น แมว, โรงเรียน, จูราสสิคพาร์ค (โค้ชพลอยากดู)
- Behaviors: พฤติกรรมการใช้งาน
- Connections
- Audience Definition: ด้านขวานี้คือสรุปค่าที่เราใส่ลงไปครับ โดยขีดพลังด้านบนจะบอกเราได้ว่าค่าที่เราระบุลงไปเจาะกลุ่มลูกค้าเฉพาะ หรือกระจายให้คนทั่วไปเห็น (ตรงนี้จะหาโอกาสมาอธิบายอีกที)
- Potential Reach: คือประมาณจำนวนคนที่จะได้เห็นโฆษณาของเราจากค่านี้ (แค่ประมาณ แต่ไม่การันตีนะ)
จำไว้ว่าไม่จำเป็นต้องใส่ทั้งหมดก็ได้นะ แต่ 1 – 5 เป็นอะไรที่ควรระบุให้แน่นอน
4. ตั้งงบ (Ads Budget)
มาถึงขั้นนี้ Facebook จะสลัดคราบนางฟ้า กลายเป็นนายหน้าครับ
เขาจะให้เรากำหนดเงินทุน ที่จะจ่ายให้เขาได้ โดยเราสามารถเลือกจ่ายไปเรื่อยๆ (ระวังนะ…) หรือตั้งวันเริ่ม และวันสิ้นสุดโฆษณาได้
- Budget: เลือกจำนวนเงินที่จะจ่ายได้
- Per day: ต่อวัน
- Life time Budget: ตลอดช่วงที่โฆษณา (ซึ่งจะกำหนดด้านล่างอีกที)
- Schedule:
- Run my ad set continuously starting today: ทำไปเรื่อยๆ เลยนะ ตั้งแต่วันนี้เลย (…..โอววววว)
- Set a start date and end date: กำหนดวันเริ่ม และสิ้นสุดการโฆษณา
- Estimated daily reach: ประมาณจำนวนคนที่จะเห็นในแต่ละวัน โดยอิงจากเงินที่เรากำหนด (…..โอว) และเขาจะบอกเลยว่าแค่ประมาณ และจำนวนจริงก็ขึ้นอยู่กับค่าที่เราตั้งในหัวข้อก่อนหน้า
5. เลือกแบบการแสดงภาพในโฆษณา
ภาพที่ปรากฎบนโฆษณานั้น มีแบบภาพเดี่ยว และแบบหลายภาพ (มากสุด 5 ภาพ) แบบที่ 1 เป็นแบบดั้งเดิม แบบที่ 2 เพิ่งเปิดให้เลือกไม่นานมานี้ครับ
- แบบภาพเดียว (ภาพจะใหญ่)
- แบบหลายภาพ (ภาพจะเล็กและคนเห็นเลื่อนดูด้านข้างได้)
6. เลือกภาพที่จะอยู่บนโฆษณา
ขั้นตอนที่สนุกที่สุดของโค้ชพลมาแล้วครับ
นั่นคือการเลือกภาพให้โฆษณาของเราครับ โดยเราเลือกได้มากที่สุด 5 ภาพด้วยกัน
แต่ละภาพที่ใช้ควรมีขนาดกว้าง 1200 px สูง 628 px นะ และไม่ควรมีตัวอักษรเกิน 20% ของพื้นที่ภาพนะครับ ครับ ครับ
โดย Facebook จะสุ่มทั้ง 5 แบบขึ้นมา เพื่อให้เราวิเคราะห์ได้ด้วยว่าภาพแบบไหน คนเห็นแล้วคลิก คนเห็นแล้วไลค์ คนเห็นแล้วแชร์มากที่สุด
จะได้เอามาปรับปรุงในโฆษณาชิ้นต่อๆ ไป
ในที่นี้ โค้ชพลแนะนำให้เราคิดแนวภาพออกมาแตกต่างกัน 5 แบบ (แต่ให้อยู่ในกลุ่มเป้าหมายเดียวกันนะ) เพื่อสังเกตว่ากลุ่มเป้าหมายเราชอบแบบไหนครับ
- กดเพื่อเลือกภาพและอัพโหลดเข้า Ads
- พรีวิวภาพตัวอย่างที่อัพโหลด
- สามารถใช้ระบบที่ Facebook เตรียมไว้เพื่อตัดแต่งภาพ หรือเลือกภาพที่เรามีอยู่ได้
7. ตั้งจั่วหัว, คำอธิบาย, และ link ให้ Facebook Ads
นี่คือขั้นตอนที่สนุกรองลงมาครับ
และโค้ชพลคิดว่าเราจะเสียเวลากับส่วนนี้พอสมควรเลย นั่นคือการคิดจั่วหัวโฆษณา คำอธิบาย และรายละเอียดของ Facebook Ads ของเรานั่นเอง
- Connect Facebook Page: เราสามารถใส่ Facebook Page ที่เกี่ยวข้องกับ Ads เพื่อให้คนที่สนใจสามารถกด Like ติดตามเพจของเราได้อีกทางนั่นเอง
- Headline: จั่วหัวโฆษณา จำกัดตัวอักษรนะ มีตัวนับอยู่ด้านบนขวา
- Text: คำอธิบายที่จะอยู่ด้านล่างภาพ จำกัดตัวอักษรเหมือนกัน
- Call-to-action button: ปุ่มที่อาจจะอยากให้มีใน Ads อย่างคุณ Poramin ต้องการคำว่า “Download” ก็เลือกได้ครับ
- AD Previews: แสดงตัวอย่างของโฆษณาเราในที่ต่างๆ
- Desktop News Feed: เมื่อเห็นบนคอมพิวเตอร์ปกติ
- Mobile: เมื่อเห็นบนมือถือ
- ตัวอย่างคำบรรยายใต้ภาพ และปุ่มที่เราเลือกจากการตั้งค่า
8. Review และสั่งซื้อ Facebook Ads
เมื่อเรากำหนดค่าต่างๆ จนพอใจแล้ว ก็กดดู Review โฆษณาของเราได้
หรือจะกดปุ่มเขียว “Place Ads” เพื่อให้ Facebook ทำการตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ (มีรีวิวด้วยนะ) ก่อนที่จะปล่อยให้โฆษณาเราออกสู่สายตาประชาชน
แล้วกลับมาติดตามการวิเคราะห์ Facebook Ads อีกทีที่นี่กับโค้ชพลนะครับ
มีคำถามอะไรคุยกันได้ด้านล่างเน้อ
- Facebook Comment