3 สิ่งที่คุณยังไม่รู้ เกี่ยวกับแอพธนาคารปลอม

มือใหม่พาธุรกิจขึ้นออนไลน์

ข่าวแอพปลอมแพร่กันตั้งแต่เช้าเมื่อวาน เป็นเรื่องที่พ่อค้าแม่ขายออนไลน์ทุกคนต้องสนใจ เพราะเดี๋ยวนี้เราสามารถทำธุรกรรม เช็คยอดเงินเข้า โอนเงินออกกันได้จาก smartphone

เรื่องมันมีอยู่ว่ามีนักพัฒนาชื่อ Scintifika Media “สร้าง”​ แอพธนาคารปลอม แล้วอัพโหลดขึ้น Google Play Store ที่มีไว้ให้เราโหลดแอพมาใช้ใน Android กันนี้แหละ

ใครหลงดาวน์โหลดมาใช้งาน ก็เหมือนเอาข้อมูลทางการเงิน รหัสต่างๆ ใส่พานมอบให้นายคนนี้ไปแล้ว

อ้าว เฮ้ย เรื่องเงินๆ ทองๆ แบบนี้ ปลอมกันง่ายๆ เลยเรอะ?​

ปลอมกันได้ครับ โค้ชพลจะอธิบายง่ายๆ ให้เข้าใจ

ปลอมแอพธนาคารทำได้ แต่เราต้องไม่หลงกล

ให้นึกถึง ทองชุบ ครับ

การทำแอพปลอมของ Scintifika Media นั้น เป็นการใช้เทคนิค “หลอกตา” คือถ้าเราไม่สังเกตดีๆ จะโดนเลห์เหลี่ยมตรงนี้ตบตาเอาได้

การทำแอพพลิเคชั่นบนมือถือนั้น นักพัฒนาสามารถเลือกใช้ภาพใดๆ ก็ได้มาเป็นภาพไอคอนของตัวแอพ และสามารถตั้งชื่ออะไรก็ได้ ตราบใดที่ไม่ไปขัดกับกฎของระบบนั้นๆ

หมายความว่า ถ้าคนๆ นั้น แต่งภาพไอคอนด้วย ​Photoshop ให้เหมือนไอคอนของแอพธนาคารจริงๆ และตั้งชื่อแอพคล้ายๆ กัน เราก็จะได้แอพ “ปลอม” ของธนาคารนั้นๆ

ทีนี้ถ้าถามเรื่องมาตรการของ App Store และ Play Store พวกนี้ก็มีอยู่ แต่ก็มีโอกาสรอดผ่านไปได้ ดังนั้นเราควรรู้วิธีป้องกันตัวเองจะดีที่สุดครับ

วิธีดูแอพธนาคารว่าปลอม หรือไม่ปลอม แบบง่ายๆ

เมื่อทราบว่าแอพปลอมใช้วิธีใดในการตบตาแล้ว (ฟังเหมือนๆ แก๊งค์ตกทองมะ?) เราก็สามารถดูได้ว่าแอพนั้นมาจากธนาคารจริงๆ หรือมาจากผีกันแน่ ในปัจจุบันพบว่ามีแอพปลอมของธนาคารดังต่อไปนี้

  1. ธนาคารไทยพาณิชย์ (Siam Commercial Bank Public Company Limited, SCB)
  2. ธนาคารกรุงเทพฯ (Bangkok Bank Public Company Limited, BBL)
  3. ธนาคารกรุงไทยฯ (Krungthai Bank Public Company Limited, KTB)
  4. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Bank of Ayudhya Public Company Limited, BAY)
  5. ธนาคารธนชาต (Thanachart Bank Public Company Limited)

อย่างธนาคารไทยพาณิชย์ ก็ได้ทำวิธีดูว่าแอพธนาคารของเขาปลอมหรือไม่ปลอมดังภาพ

Detect SCB Bank App

วิธีดูแอพธนาคารปลอม จาก Fan Page ของ SCB

 

และจริงๆ เราสามารถดูได้จากหน้ารายการแอพที่ค้นหาเลยว่า มันมาจากนักพัฒนาคนไหน

Detect Fake Thai Banking App

ดูชื่อนักพัฒนาของแอพนั้นๆ จากรายชื่อของแอพที่ค้นหาได้ทันที

ง่ายๆ อย่างนี้ไม่พลาดนะ เข้าใจตรงกันนะ

วิธีป้องกันตัวจากแอพปลอมในอนาคต

ดังนั้นถ้าเป็นเรื่องของ แอพปลอม อาจมีคนทำอีกในอนาคตจะทำอย่างไร

ก็คงต้องโดยเฉพาะแอพที่ไปเกี่ยวพันกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ทั้งบัญชีธนาคาร และบัตรเครดิต โดยเฉพาะคนที่เอาบัตรไปวางไว้ที่ Play Store และ App Store ถ้ามันถามอะไรที่เป็นกิจกรรมทางการเงิน ต้องอ่านให้ละเอียดถี่ถ้วน

เราก็จะรอดปลอดภัยจากอันตรายต่อกระเป๋าเงินออนไลน์ครับ

Email จาก Sochiie ไม่ปลอม?

อย่าลืมฝาก Email เพื่อรับข่าวสารสำหรับพ่อค้าแม่ขายออนไลน์แบบนี้ได้ที่นี่ ฝากตาม link ได้เมลล์จริงจากโค้ชพลแน่ๆ  ไม่ปลอม 🙂

ขอบคุณภาพประกอบจาก SCB และรายชื่อข้อมูลธนาคารจาก BearTai

Loading Facebook Comments ...
Menu