3 สิ่งที่มหาวิทยาลัยของคุณ อาจเข้าใจ Webometrics ผิดๆ

YouTube

ตอนนี้หลายๆ มหาวิทยาลัยก็มีการตื่นตัวเรื่อง Webometric กันแล้ว และไม่อาจจะละเลยว่า Webometric มีส่วนสำคัญต่อการชี้วัดประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยเองด้วย

จากที่พลได้ไปพบปะกับพี่น้องในหลายๆ มหาวิทยาลัย เพื่อให้แนวคิด และลองทำเวิร์คชอปกัน พลได้สังเกตว่าพวกเราหลายคนจะมีความเข้าใจผิดกับเรื่อง Webometrics ตั้งแต่เริ่มแรก เลยทำให้มีผลในการวางแผน และปฏิบัติงานที่อาจเดินผิดทางไปด้วย

เลยขอแชร์ 3 ส่ิงสำคัญที่เข้าใจกันผิดๆ ดังนี้

1. Webometrics ไม่ใช่ SEO

หลักการวัดขีดพลังของ Webometric จะทำผ่าน Internet และอ้างอิงจากโดเมนเนม (Domain name) ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเป็นหลัก จึงไม่แปลก เมื่อเราพูดถึง “เว็บไซต์” และ “อันดับ” เราจะนึกถึงการทำ SEO (Search Engine Optimization) เป็นอันดับแรกๆ

แต่หากดูตามเป้าหมายของ Webometric กับ SEO นั้น เหมือนอยู่คนละโลก เพราะ SEO นั้นมุ่งหวังที่ “เว็บไซต์ต้องถูกพบและวางเป็นอันดับแรกๆ” แต่ Webometric เป็นตัวชี้วัดสิ่งที่มหาวิทยาลัย “สร้างผลกระทบให้แก่สังคม” ซึ่ง Webometric มองผลลัพธ์ในมุมกว้างกว่ามาก

ดังนั้น SEO จึงเหมือนเป็นวิธีการหนึ่ง ที่สามารถเลือกมาใช้ในแผนยุทธศาสตร์ Webometric ได้ แต่การทำ SEO นั้นจะเหมาะสำหรับแผนของหน่วยงานตัวเองหรือไม่ ก็ต้องดูความเหมาะสมด้วย

2. แผนยุทธศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

ในเวิร์คชอป พลพบว่าบางกลุ่มสามารถกำหนดจุดแข็งของตัวเองได้ แต่เมื่อถึงตอนกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการเพิ่มตัวชี้วัดทาง Webometrics แผนต่างๆ กลับเป็นการเพิ่มปริมาณด้วยพลังของหน่วยงานเท่านั้น

แนวคิดของการบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ในยุค 1.0 คือความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นจากฝั่งเจ้าของเว็บไซต์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่แผนการส่วนใหญ่จะอิงรูปแบบนั้น

แต่รูปแบบของเว็บไซต์พัฒนาแบบก้าวกระโดดจาก 1.0 เป็น 2.0 (คนเข้าชมเว็บสามารถสร้างเนื้อหาเองได้) และเข้าสู่ 3.0 (โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค) ถ้าเราศึกษารูปแบบของแต่ละยุค จะสามารถสร้างแผนการเชิงรุกที่อาศัยพลังมหาศาลในหลายๆ รูปแบบได้ เช่น Blogging หรือหรือขยายเนื้อหาไปใน Channel ต่างๆ เป็นต้น

เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะสั้น ที่ตรวจวัดจากยอดเข้าชมเว็บไซต์

ลองคิดถึงรถยนต์ของเรา การซ่อมแซม, ดูแลเครื่องยนต์, เช็คไมล์, เติมน้ำมันเครื่อง เราตัดสินใจให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่นี้ ใน Webometrics ก็เช่นกัน

ระบบเว็บไซต์ และความเคลื่อนไหวในโลกอินเตอร์เน็ต ก็เหมือนความซับซ้อนของเครื่องยนต์ เราอาจจะรู้ว่าจำนวนไมล์มีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ แต่ความร้อน และความเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนอื่นก็มีผลเช่นเดียวกัน การเฝ้าดูตัวชี้วัดตัวเดียว อาจส่งผลร้ายแรงต่อคุณภาพ Webometrics โดยที่เราไม่รู้ตัว และนำไปสู่การล้มเหลวของยุทธศาสตร์ ที่ท้ายที่สุดเราจะไม่รู้เลยว่าผิดพลาดตรงไหน

โดยปกติพลก็จะแนะนำให้ตรวจวัดแผนยุทธศาสตร์ โดยไม่ทิ้งช่วงนานเกินไป และกำหนดเป้าหมายของโครงการต่างๆ ให้เล็ก และชัดเจน เพื่อให้ตรวจวัดผลได้ง่ายและปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว

สรุป

Webometrics มีแนวคิดที่เรียบง่ายดังที่พลกล่าวถึงในท Session แรกของงานสัมมนาว่า

Webometrics มีเป้าหมายเพื่อให้มหาวิทยาลัยใช้สิ่งที่มหาวิทยาลัยมี สร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคม

ดังนั้นมันไม่ใช่การทำให้คนเจอเว็บไซต์เราอันดับต้นๆ เมื่อค้นหาใน Google, ไม่ใช่การใส่ Keyword หรือเขียนโปรแกรมเพื่อเพิ่มคะแนนของ SEO, แต่มันมีเป้าหมายที่ใหญ่กว่ากลไกทางเทคนิค ซึ่งต้องอาศัยแผนการที่ต่อเนื่อง และการดำเนินการอย่างถูกต้องครับ

แล้วเจอกันอีกในเรื่อง Webometrics และ Education 4.0

Loading Facebook Comments ...
Menu